วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2556

ประวัติหมู่บ้านไมโครเวฟ


ตั้งอยู่ที่หมู่ 11 ตำบลห้วยโป่ง  อำเภอเมือง  จังหวัดแม่ฮ่องสอน





ประวัติความเป็นมา
                ในปี 2521 นายมั่ง พนมไพร และพี่น้องอีก 6 คน ได้อพยพมาจากบ้านดอยหมากพริก ตำบลเมืองแปง  อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านแม้วดอยเอเอส เดิมอยู่ตรงทางเข้าหมู่บ้านหมู่บ้านนาเจ็ดล๊อก ( บ้านกระเหรี่ยง ) อยู่ได้ประมาณ 1 ปีเศษก็ได้ย้ายมาอยู่ที่บ้านไมโครเวฟมาจนถึงปัจจุบัน มีนายมั่ง พนมไพร เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก
สภาพทั่วไป
                สภาพทั่วไปของหมู่บ้านไมโครเวฟมีลักษณะเป็นเชิงเขา มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
                                ทิศเหนือ  ติดต่อกับ  ตำบลผาบ่อง
                                ทิศใต้  ติดต่อกับ บ้านไม้ซางหนาม
                                ทิศตะวันออก  ติดต่อกับ ตำบลห้วยปูลิง
                                ทิศตะวันตก  ติดต่อกับ  บ้านห้วยโป่งกาน
การคมนาคม
                การคมนาคมค่อนข้างลำบากเพราะทางลาดชันและคับแคบห่างจากทางหลวงหมายเลย 108 เป็นระยะทาง 9 กิโลเมตร และห่างจากตัวเมืองแม่ฮ่องสอนเป็นระยะทาง 50 กิโลเมตร
ประชากร
                บ้านไมโครเวฟ มีประชากรทั้งหมด 599 คน  เป็นชาย 297 คน เป็น 302 หญิง  คน  และมีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 79 ครัวเรือน 
สภาพทางเศรษฐกิจ
                ประชาการส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร  พืชเศรษฐกิจได้แก่  กะหล่ำปลี ข้าว แครอท ผักกาดขาวปลี มะเขือเทศ  และมีฐานะยากจน

สภาพทางสังคม
โรงเรียน                                                                1 แห่ง
ระบบประปาหมู่บ้าน                                         1 แห่ง
ศูนย์เตือนภัยน้ำท่วม                                           1 แห่ง
ระบบไฟฟ้าโซล่าเซลล์                                      6 ครัวเรือน
ระบบไฟฟ้าแรงสูง                                             60 ครัวเรือน
ประเพณี
ประเพณีปีใหม่ม้ง  เป็นประเพณีการเฉลิมฉลองปีใหม่ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน จะตรงกับขึ้น 1 ค่ำ เดือน 1 ของทุกปี  มีการละเล่นอย่างสนุกสนาน เช่น การโยนลูกช่วง การตีลูกข่าง เป็นต้น
ประเพณีแต่งงาน  เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาช้านาน นิยมจัดในช่วงเดือนขึ้น ของเดือนมกราคม  ถึงเดือนพฤษภาคม
ศิลปะวัฒนธรรม
                หมู่บ้านไมโครเวฟมีการสืบทอดศิลปวัฒนธรรมที่เด่นชัดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ดังนี้
การแต่งกาย นิยมแต่งชุดม้ง
ภาษา นิยมใช้ภาษาม้งในการสื่อสารระหว่างกัน
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
การปรุงยาสมุนไพร จากการหาจากป่าหรือมีการปลูกเองเพื่อใช้ในการรักษาการเจ็บป่วย
การปักผ้าลายม้ง  เป็นการปักผ้าเพื่อนนำมาประดับเครื่องแต่งกาย มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ
การตีเหล็ก มีด เพื่อใช้งานในชีวิตประจำวัน